
การหล่อ คอนกรีตทนไฟ (Casting)
การหล่อ คอนกรีตทนไฟ มีวิธีเตรียมอุปกรณ์และสามารถปฎิบัติเองได้ตามขั้นตอนดังนี้
สารบัญ
- อุปกรณ์ที่ใช้ใน การหล่อคอน กรีตทนไฟ
- การหล่อคอนกรีตทนไฟ
- วิธีเลือกใช้งานคอนกรีตทนไฟ
- วิธีใช้งานคอนกรีตทนไฟ
- ประเภทของ คอนกรีตทนไฟ
- คอนกรีตทนไฟที่จัดจำหน่าย
อุปกรณ์ที่ใช้ใน การหล่อ คอนกรีตทนไฟ
1. เครื่องผสม แบบ Pan Mixer มีความเร็วรอบ 35-40 รอบ/นาที เพื่อให้การผสมระหว่างน้ำและคอนกรีตทนไฟเข้ากันได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วหรือถ้าไม่มีเครื่องผสม สามารถใช้สว่านไฟฟ้า กวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
2. หัวเขย่า (Vibrator) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าหรือเท่ากับ 1 นิ้ว โดยมีความเร็วรอบ 10,000 – 15,000 รอบ/นาที เพื่อให้มวลสารกระจายอย่างสม่ำเสมอ และได้คอนกรีตทนไฟที่มีคุณภาพสูง
3. กระบอกตวงน้ำ ขนาด 1-2 ลิตร
4. นาฬิกาจับเวลา
การหล่อ คอนกรีตทนไฟ
การหล่อ คอนกรีตทนไฟ มีข้อปฎิบัติดังนี้
1. แบบที่ใช้ในการหล่อ อาจเป็นแบบไม้หรือเหล็กก็ได้ และจะต้องไม่มีรอยรั่วซึม ก่อนหล่อควรทาด้านใน แบบหล่อด้วยน้ำมันทาแบบ เช่น จาระบี หรือพาราฟิน เพื่อให้ถอดแบบได้ง่่ายขึ้น
2. การใช้หัวเขย่า (Vibrator) ควรเขย่าไล่จากล้างขึ้นบน และควรถอนหัวเขย่าจากคอนกรีตทนไฟอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรูหรือโพร่งอากาศเหลืออยู่หาก ถอนหัวเขย่าแล้วเกิดรู แสดงว่าส่วนผสมของคอนกรีตทนไฟ นั้นในปริมาณน้ำน้อยเกินไป
3. ในการเขย่าคอนกรีตทนไฟ ต้องใช้เวลาที่พอดี สังเกตได้จาก น้ำที่เริ่มเยิ้มขึ้น มาบนผิวหน้าคอนกรีตทนไฟ ทั้งนี้ไม่ควรใช้เวลาเขย่านานเกินไป
4. หลังหล่อเสร็จไม่ควรตกแต่งผิวหน้าให้เรียบ เพื่อให้การระเหยน้ำออกเป็นไปอย่างสะดวก
วิธีเลือกใช้งาน คอนกรีตทนไฟ
- เลือกจากอุณหภูมิการใช้งานเหมาะสม
- การรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากการใช้งาน
- การเสียดสีจากของแข็งและก๊าซภายในเตา
- การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน
- การกัดกร่อนทางเคมีจากน้ำโลหะ ตะกรัน (slag) และเถ้าถ่าน รวมทั้งอัคคาไลน์
วิธีใช้งาน คอนกรีตทนไฟ
- ใช้เทหล่อเมื่อติดตั้งโครงสร้างต่างๆ แทนอิฐ Fireclay หรือ High Alumina เช่นผนังหลังคาของเตา เตาหลอมเหล็ก เตาอบเหล็ก เบ้ารับน้ำเหล็ก เตาหลอมอลูมิเนียม
- ใช้หล่อแทนอิฐ High Alumina บริเวณหลังคาเตา EAF, หัวฉีด, Nose Ring, Kiln load และ Burner Block
- ใช้เป็น Back up lining ของอิฐไฟร์เคลย์ และอิฐอลูมินาสูง ในหม้อไอน้ำ, เตาเผาเซรามิก, เตาเหล็กรีดซ้ำ, เตาหลอมแก้ว เตาเผาขยะประสิทธิภาพสูง และเตา Periodic เป็นต้น
- ใช้เป็น Back up lining ของ Cyclone, Preheaters และ Cooler ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และใช้เป็นพื้นของรถเตาเซรามิก เป็นต้น
การหล่อ คอนกรีตทนไฟ , การหล่อ คอนกรีตทนไฟ , การหล่อ คอนกรีตทนไฟ , การหล่อ คอนกรีตทนไฟ
ประเภทของ คอนกรีตทนไฟ
1. คอนกรีตทนไฟ ชนิดทั่วไป (Conventional Castables)
เป็นคอนกรีตทนไฟผสมเสร็จบรรจุถุงพร้อมใช้งานได้ทันที มีให้เลือกตั้งแต่อุณหภูมิใช้งาน 1,000-1,8000 C สามารถผสมน้ำได้ 10%-15% ทำให้มีการไหลตัวที่ดี ง่ายต่อการหล่อและเหมาะ สำหรับการใช้งานทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
– คอนกรีตทนไฟชนิดสำหรับใช้กับงานหล่อทั่วไป (Normal Castable)
– คอนกรีตทนไฟชนิดสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้ดี (ES Series, Extra Strength)
– คอนกรีตทนไฟชนิดที่เป็นฉนวนกันความร้อน (LW Series, Lightweight)
– คอนกรีตทนไฟชนิดทนต่อการขัดสี (CG Series, Coarse Grain)

2.คอนกรีตทนไฟ ชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อย (Low Cement Castables: LCC)
เป็นคอนกรีตทนไฟที่มีจุดเด่นกว่าคอนกรีตทนไฟชนิดทั่วไป กล่าวคือคงความแข็งแรงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงการเพิ่มอุณหภูมิขณะจุดเตา (Heating up) มีความแข็งแรงสูงทั้งในอุณหภูมิห้องและอุณหภูมิใช้งานทนต่อการขัดสี การแตกร่อน จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนต่อการกัดกร่อนของอัลคาไลน์ได้ดีกว่า คอนกรีตทนไฟชนิดทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากมีส่วนประกอบของ Lime (CaO) ระหว่าง 1.0 % ถึง 2.5%
3.คอนกรีตทนไฟ ชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อยมาก
เป็นคอนกรีตทนไฟที่มีจุดเด่นคือ มีความแข็งแรง ทนต่อการขัดสีสูงและสามารถทนต่อการกัดกร่อนจากปฎิกิริยาทางเคมี (Chemical Attacks) ได้ดีเนื่องจากมีส่วนประกอบของ Lime (CaO) น้อยมากเพียง 0.2% ถึง 1.0%