2017-05-06_172346
2017-05-06_172346
previous arrow
next arrow

คำจำกัดความของคอนกรีตทนไฟ

คำจำกัดความ คอนกรีตทนไฟ
คำจำกัดความ คอนกรีตทนไฟ
มกราคม 29, 2020
วัสดุทนไฟ อิฐทนไฟ ฉนวนกันความร้อน เซรามิคส์ไฟเบอร์ ปูนทนไฟ เตาหลอม เตาอบ
การเก็บรักษา ปูนทนไฟ
มกราคม 29, 2020
วัสดุทนไฟ อิฐทนไฟ ฉนวนกันความร้อน เซรามิคส์ไฟเบอร์ ปูนทนไฟ เตาหลอม เตาอบ

คำจำกัดความของ คอนกรีตทนไฟ

 คอนกรีตทนไฟ  (CASTABLE REFRACTORIES)  เป็นวัสดุทนไฟชนิดหนึ่ง คล้ายคอนกรีตผสมเสร็จทั่วไปแต่ใช้น้ำ ในการผสมน้อยกว่า มีคุณสมบัติ ทนไฟ หรือทนความร้อนที่ อุณหภูมิสูงได้ดีเช่นเดียวกับอิฐทนไฟ ส่วนผสมประกอบด้วย ซีเมนต์ทนไฟ และเม็ดวัสดุทนไฟหลายขนาดที่มี สัดส่วน พอเหมาะ ซึ่งเมื่อผสมน้ำตามอัตราส่วน ที่กำหนดแล้วจะให้ ความแข็งแรง สามารถใช้หล่อ เป็นโครงสร้างเตาได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ขจัดปัญหา เรื่องระยะเวลา ในการผลิต  ค่าแบบ (กรณีที่เป็นอิฐรูปร่างพิเศษ) และการตัด อิฐทนไฟ ให้เข้ารูป  อีกทั้งยังเหมาะสมสำหรับ การใช้งาน บริเวณที่ไม่สามารถ ก่ออิฐได้เป็ นอย่างดี

คอนกรีตทนไฟ

ประเภทของ คอนกรีตทนไฟ

คอนกรีตทนไฟ มีหลายชนิด แยกตามการใช้งานได้

1. คอนกรีตทนไฟ ชนิดทั่วไป (Conventional Castables) 

เป็นคอนกรีตทนไฟ ผสมเสร็จ บรรจุถุง พร้อมใช้งาน ได้ทันที  มีให้เลือก ตั้งแต่อุณหภูมิ ใช้งาน 1,000-1,8000C สามารถผสมน้ำได้ 10%-15% ทำให้มี การไหลตัว ที่ดีง่าย ต่อการหล่อ และเหมาะสำหรับ การใช้งานทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

คอนกรีตทนไฟ ตราช้าง แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

  1. คอนกรีตทนไฟชนิดสำหรับใช้กับ งานหล่อทั่วไป (Normal Castable)
  2. คอนกรีตทนไฟชนิดสำหรับงาน ที่ต้องการความแข็งแร งสามารถรับน้ำหนักได้ดี (ES Series, Extra Strength)
  3. คอนกรีตทนไฟชนิดที่เป็น ฉนวนกันความร้อน (LW Series, Lightweight)
  4. คอนกรีตทนไฟชนิด ทนต่อการขัดสี (CG Series, Coarse Grain)

คอนกรีตทนไฟ วัสดุทนไฟ อิฐทนไฟ

 

2.คอนกรีตทนไฟ ชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อย (Low Cement Castables: LCC)

เป็นคอนกรีตทนไฟที่มีจุดเด่นกว่าคอนกรีตทนไฟชนิดทั่วไป กล่าวคือคงความแข็งแรงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงการเพิ่มอุณหภูมิขณะจุดเตา (Heating up) มีความแข็งแรงสูงทั้งในอุณหภูมิห้อง และอุณหภูมิใช้งาน ทนต่อการขัดสี การแตกร่อน จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และทนต่อการกัดกร่อนของอัลคาไลน์ได้ดีกว่าคอนกรีตทนไฟชนิดทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากมีส่วนประกอบของ Lime (CaO) ระหว่าง 1.0 % ถึง 2.5%

3.คอนกรีตทนไฟ ชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อยมาก

เป็นคอนกรีตทนไฟที่มีจุดเด่นคือ  มีความแข็งแรงทนต่อการขัดสีสูงและสามารถทนต่อการกัดกร่อนจากปฎิกิริยาทางเคมี (Chemical Attacks) ได้ดีเนื่องจากมีส่วนประกอบของ Lime (CaO) น้อยมากเพียง 0.2% ถึง 1.0%

 

การผสมคอนกรีตทนไฟ ชนิดธรรมดา

การผสมคอนกรีตทนไฟ

  1. ทำความสะอาดบริเวณที่จะหล่อคอนกรีตทนไฟรวมทั้งเครื่องมือ และอุปกรณ์ เช่น เครื่องผสม(Pan Mixer) หัวเขย่า (Vibrator) ถังและเกรียงก่อนการผสมให้สะอาดไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างอยู่ เช่น คอนกรีตทนไฟ หรือปูนซีเมนต์ที่ติดค้างอยู่ในถังผสม
  2. ผสมคอนกรีตทนไฟในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาดของเครื่องผสม
  3. ผสมแห้งเป็นเวลาประมาณ 1 นาที
  4. เติมน้ำสะอาดตามเปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักของคอนกรีตทนไฟที่กำหนดไว้ โดยเริ่มจากอัตราส่วนที่ต่ำสุดก่อน
  5. ผสมเป็นเวลา 3-5 นาที ไม่ควรผสมนานเกิน 5 นาที เพราะจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งจะเร่งการแข็งตัวของคอนกรีตทนไฟให้เร็วขึ้น
  6. ก่อนนำไปใช้งานควรทดสอบสภาพของคอนกรีตทนไฟที่ผสมแล้ว โดยปั้นคอนกรีตทนไฟเป็นก้อนกลมโยนขึ้นให้สูง 6-12 นิ้ว แล้วรับ สังเกตลักษณะของคอนกรีตทนไฟได้ดังรูป
การผสมคอนกรีตทนไฟ
     7. นำคอนกรีตทนไฟที่ผสมนี้ไปใช้งานทันที  และควรใช้งานให้หมดภายใน 30 นาที หลังผสมเสร็จ

การผสมคอนกรีตทนไฟ ชนิดมีปริมาณ ซีเมนต์น้อย

คอนกรีตทนไฟ ซีเมนต์น้อย

  1. ทำความสะอาดบริเวณที่จะหล่อคอนกรีตทนไฟ รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น เครื่องผสม (Pan Mixer) หัวเขย่า (Vibrator)ถังและเกรียงก่อนการผสมให้สะอาด ไม่ให้มีสิ่งปลอมปนตกค้างอยู่
  2. ผสมคอนกรีตทนไฟในปริมาณที่พอเหมาะกับเครื่องผสม  ในกรณีที่เป็นชนิดแยกตัวประสาน (Separated Binder)ให้ใส่ตัวประสานตามลงไปในสัดส่วน 1 ถุงตัวประสาน ต่อ 1 ถุงคอนกรีตทนไฟ โดยพยายามโรยสให้ทั่ว
  3. ผสมแห้งเป็นเวลาประมาณ 1 นาที
  4. เติมน้ำสะอาดตามเปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักของคอนกรีตทนไฟที่กำหนดไว้ โดยเริ่มจากอัตราส่วนที่ต่ำสุดก่อน เนื่องจากสัดส่วนของน้ำมีผลอย่างมากต่อคุณภาพของคอนกรีตทนไฟ จึงควรควบคุมสัดส่วนน้ำตามที่กำหนดไว้อย่างเข้มงวด
  5. ผสมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3-5 นาที ไม่ควรผสมนานเกิน 5 นาที เพราะจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งจะเร่งการแข็งตัวของคอนกรีตทนไฟให้เร็วขึ้น
  6. ก่อนนำไปใช้งานควรทดสอบสภาพของคอนกรีตทนไฟที่ผสมแล้ว โดยหยิบคอนกรีตทนไฟหนึ่งกำมือและเขย่า สังเกตดูลักษณะ เนื้อคอนกรีต ควรจะจับตัวเป็นก้อนผิวมัน และไม่ร่วนหรือเหลวมาก หลังจากเขย่าไปมาอย่างรวดเร็ว
  7. นำคอนกรีตทนไฟที่ผสมนี้ไปใช้งานทันที และควรใช้งานให้หมด ภายใน 30 นาที หลังผสมเสร็จ

ข้อควรระวังในการผสม

  1. ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ ว่าสามารถใช้งาน ได้ตามปกติ ไม่ปนเปื้อนสกปรก
  2. คอนกรีตทนไฟจะแข็งตัวเร็ว ถ้าคอนกรีตทนไฟหรืออุปกรณ์ที่ใช้ปนเปื้อน ฝุ่นปูนหรือเศษคอนกรีตทนไฟเดิม
  3. หากบริเวณ ที่ทำงานมีอุณหภูมิสูง เกินไป (ปกติควรอยู่ระหว่าง 25-300c)หรือผงคอนกรีตทนไฟ อุปกรณ์ที่ใช้ และน้ำ มีความร้อน มากเกินไปคอนกรีตทนไฟ จะแข็งตัวเร็ว ดังนั้น จึงไม่ควรวางคอนกรีตทนไฟ อุปกรณ์ที่ใช้ และน้ำ ไว้กลางแดด เป็นเวลานาน ก่อนการใช้งาน
  4. น้ำที่นำมาใช้ควรเป็นน้ำที่สะอาด และไม่มีค่าเป็นกรดหรือด่าง เช่น น้ำประปา เป็นต้น
  5. หากผสมน้ำ มากเกินกว่าที่กำหนด จะทำให้คอนกรีตทนไฟ มีคุณสมบัติด้อยลงมาก เช่น  คอนกรีตทนไฟจะแข็งตัวช้า มีความแข็งแรงต่ำ มีรูพรุนหลังการเผามากและมีโอกาสที่จะระเบิดเมื่ออุ่นเตาเร็ว
  6. กรณีที่ผสมน้ำน้อยเกินไปคอนกรีตทนไฟจะแข็งตัวเร็ว และเนื้อคอนกรีตทนไฟเรียบตัวไม่แน่น

 คอนกรีตทนไฟที่จัดจำหน่าย

คอนกรีตทนไฟ C-58 วัสดุทนไฟ อิฐทนไฟ ฉนวนกันความร้อน เซรามิคส์ไฟเบอร์ ปูนทนไฟ เตาหลอม เตาอบ

คอนกรีตทนไฟ C 60 A/XF วัสดุทนไฟ อิฐทนไฟ ฉนวนกันความร้อน เซรามิคส์ไฟเบอร์ ปูนทนไฟ เตาหลอม เตาอบ

คอนกรีตทนไฟ C 60 AB/XF วัสดุทนไฟ อิฐทนไฟ ฉนวนกันความร้อน เซรามิคส์ไฟเบอร์ ปูนทนไฟ เตาหลอม เตาอบ

DURALITE 2000

คอนกรีตทนไฟ วัสดุทนไฟ อิฐทนไฟ ฉนวนกันความร้อน เซรามิคส์ไฟเบอร์ ปูนทนไฟ เตาหลอม เตาอบ

วันสต็อปเซอร์วิส
สนใจสินค้า สอบถามข้อมูลราคาได้ที่
Line ID @tssrefractory
https://lin.ee/D1XQRAH
พื้นที่บริการจัดส่งทั่วประเทศ
คิวอาร์โค้ด
Top