2017-05-06_172346
2017-05-06_172346
previous arrow
next arrow
ฉนวนใยหิน Rockwool สร้างสรรค์ เพื่อแก้ไขปัญหา ปกป้องชีวิตทุกชีวิต
พฤษภาคม 28, 2020
วัสดุทนไฟ อิฐทนไฟ ฉนวนกันความร้อน เซรามิคส์ไฟเบอร์ ปูนทนไฟ เตาหลอม เตาอบ
แร่ใยหินคืออะไร ?
มกราคม 29, 2020
วัสดุทนไฟ อิฐทนไฟ ฉนวนกันความร้อน เซรามิคส์ไฟเบอร์ ปูนทนไฟ เตาหลอม เตาอบ

แร่ใยแก้ว (Fiber Glass)

 

แร่ใยแก้ว (Fiber Glass) หลายคนรู้จักไฟเบอร์กลาส ว่าเป็นวัสดุคอมโพสิตหรือพลาสติกเสริมแรง อย่างพลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใย (fiber-reinforced plastic, FRP) หรือ พลาสติกเสริมแรงด้วยแก้ว (glass-reinforced plastic, GRP)

แต่แท้จริงแล้วไฟเบอร์กลาส คือ เส้นใยของแก้วที่ปั่นให้เป็นเส้นละเอียดบางๆ เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุเสริมแรงในพอลิเมอร์หลายประเภท รวมทั้งพลาสติกเรซินที่สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น หลังคารถกระบะ อ่างอาบน้ำ เรือ ชิ้นส่วนเครื่องบินเล็ก ถังน้ำขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนรถแข่ง เป็นต้น เพราะเส้นใยแก้วมีสมบัติความแข็งแรง ทนแรงดึงได้สูง ไม่เป็นสนิม และทนต่อการกัดกร่อน นอกจากนี้เส้นใยแก้วยังมีสมบัติด้านการเป็นฉนวนความร้อนที่ดีเหมาะที่จะนำมาใช้เป็นฉนวนในเตา ตู้เย็น หรือวัสดุก่อสร้างอีกด้วย

                                                                  

รูป 1ไฟเบอร์กลาสที่มีลักษณะเป็นเส้นใยต่อเนื่อง          รูป 2 ผืนผ้าที่ถักทอด้วยไฟเบอร์กลาส            รูป 3 แผ่นไฟเบอร์กลาสที่ทำจากไฟเบอร์กลาสที่มีลักษณะเป็นเส้นใยสั้น

ประเทภของไฟเบอร์กลาส หรือ เส้นใยแก้ว

ไฟเบอร์กลาสหรือเส้นใยแก้วแบ่งได้เป็นสองประเภทตามลักษณะของเส้นใย  คือเส้นใยต่อเนื่องคล้ายกับเส้นด้าย (ดังรูป 1) ที่สามารถนำมาถักทอให้เป็นผืนผ้า (fiberglass fabric) (ดังรูป 2) ผ้าที่ได้จะไม่ดูดซึมน้ำ ไม่หดตัว ป้องกันความร้อนได้ดี ส่วนมากจะนำไปใช้ในด้านอุตสาหกรรม เช่น ทำเป็นผ้าม่านกันสะเก็ดไฟ ส่วนเส้นใยแก้วอีกประเภทหนึ่งจะเป็นเส้นใยที่สั้นไม่ต่อเนื่อง มักนำมาใช้ทำเป็นฉนวนกันความร้อน และ ฉนวนกันเสียง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นหนานุ่ม (ดังรูป 3)

ส่วนผสมหลัก ที่ใช้ผลิตเส้นใยแก้วคือ ทรายแก้ว (silica sand) ใช้เป็นสารสร้างแก้ว โซดาแอช (soda ash)และ หินปูน (limestone) สารสองอย่างหลังจะช่วยลดจุดหลอมเหลว นอกจากส่วนผสมหลักทั้งสามแล้วอาจมีส่วนผสมอื่นๆที่ใช้เพื่อปรับปรุงสมบัติต่างๆของเส้นใยแก้วเช่น บอแรกซ์ (borax) ฟันหินม้า (feldspar) แคลไซน์อะลูมินา (calcined alumina) แมกนีไซต์ (magnesite)

ขั้นตอนการผลิต

นำส่วนผสมทั้งหมดหลอมในเตาไฟฟ้าที่อุณหภูมิสูงมากถึง 1370 องศาเซลเซียสเพื่อให้ได้น้ำแก้ว จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการรีดเป็นเส้นใยยาวโดยเส้นใยจะถูกดึงออกจากหัวรีดและถูกม้วนเก็บด้วยความเร็วที่สูงกว่าความเร็วของใยแก้วที่ถูกอัดออกจากหัวรีด ซึ่งเท่ากับเป็นการยืดดึงในขณะที่เส้นใยยังอ่อนตัวทำให้ได้เส้นใยขนาดเล็กลงก่อนการแข็งตัว หากต้องการทำเป็นเส้นใยสั้นก็ทำได้โดยการตัดด้วยแรงลม สามารถทำให้เส้นใยมีความยาวแตกต่างกันออกไป  อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการหลอม ถ้าหากไม่มีการควบคุมคุณภาพของส่วนผสมให้บริสุทธิ์แล้วก็จำเป็นต้องหลอมและทำน้ำแก้วให้เป็นลูกแก้วก่อนเพื่อคัดลูกแก้วที่บริสุทธิ์มาหลอมให้เป็นน้ำแก้วใหม่อีกครั้ง แต่ถ้าหากมีการควบคุมคุณภาพของส่วนผสมแล้ว ก็สามารถรีดเส้นใยจากน้ำแก้วในเตาได้เลย

ส่วน”ไฟเบอร์กลาส”ในความหมายของวัสดุเสริมแรงนั้น ผลิตได้สองวิธี คือ

วิธีแรกนำชิ้นส่วนต้นแบบ มาขัดผิวด้านนอกด้วยขี้ผึ้งถอดแบบ วางผ้าใยแก้วบนชิ้นส่วนต้นแบบ ทาด้วยเรซินที่ผสมตัวทำให้แข็งให้มีความหนาตามต้องการ เมื่อเรซินแข็งตัวแล้วดึงชิ้นส่วนไฟเบอร์กลาสออกจากชิ้นส่วนต้นแบบ นำมาขัดแต่งผิวด้านนอกให้เรียบร้อย การสร้างชิ้นส่วนไฟเบอร์กลาสด้วยวิธีนี้จะขาดรายละเอียดและความสวยงามแตกต่างจากวิธีที่สองที่ใช้แม่พิมพ์

วิธีที่สองที่ใช้แม่พิมพ์  วิธีนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นส่วนจำนวนมาก แต่มีขั้นตอนยุ่งยากกว่าวิธีแรก โดยเราต้องสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมาจากชิ้นส่วนต้นแบบเสียก่อน เมื่อได้แม่พิมพ์ แล้วจึงนำมาสร้างชิ้นส่วนไฟเบอร์กลาสที่ต้องการ ชิ้นส่วนที่สร้างขึ้นมามีความสวยงามเหมือนกับต้นแบบทุกประการ และสามารถเสริมความแข็งแรงในบริเวณที่ต้องการโดยเพิ่มความหนาของใยแก้วหลายๆ ชั้น

 

ใยแก้ว นั้นมีอันตรายต่อร่างกายหรือไม่

ใยแก้ว เป็นวัสดุทนไฟ  ที่นำมาใช้ในหลายๆอุตสาหกรรม และงานก่อนสร้าง   ใยแก้วจึงถูกเข้าใจที่ผิด  ว่าอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้  จริงๆแล้วใยแก้ว ไม่ได้เป็นอันตรายอย่างที่คิด  และยังสามารถนำมาติดตั้งในครัวเรือนได้

คุณสมบัติของใยแก้วที่สำคัญสามารถป้องกันความร้อนได้ และดูดซับเสียงได้อีกด้วย ได้นำมาใช้งานในการทำฉนวนป้องกันความร้อน  ซึ่งเป็นก้อนของเส้นใยเส้นเล็กๆ รวมกันเป็นก้อนฟูหนา เรียกว่า “ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass)”

 

ที่มาของข้อมูล  – 10″หนังสือวิทยาศาสตร์เส้นใย”, รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา และ “ไฟเบอร์กลาส” วารสาร Hobby Electronics ฉบับที่ 102

https://www.mtec.or.th/index.php/2013-05-29-09-06-21/2013-10-29-04-40-02/142-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA-fiberglass-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

 

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าได้ที่ฝ่ายขาย โทร 0-2394-3820-2 ข้อมูลในหน้า “ติดต่อเรา / Contact Us” หรือ

เข้าไปที่เมนูสินค้าและเลือกรายการสินค้าที่ต้องการใส่ตะกร้าเพื่อส่ง มาสอบถาม ราคา

Website    : http://www.tssrefractory.com

Facebook  : https://www.facebook.com/tssrefractory/

Line            : https://line.me/R/ti/p/%40tssrefractory

Top