2017-05-06_172346
2017-05-06_172346
previous arrow
next arrow
คำจำกัดความ คอนกรีตทนไฟ
คำจำกัดความของคอนกรีตทนไฟ
สิงหาคม 29, 2022
ประเภทของ คอนกรีตทนไฟ
ประเภทของคอนกรีตทนไฟ
มกราคม 29, 2020
การผสม คอนกรีตทนไฟ

การผสม คอนกรีตทนไฟ

การผสม คอนกรีตทนไฟ (Castable Using Procedure)

 

การผสม คอนกรีตทนไฟ (Castable Using Procedure) สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก่อนจะนำมาใช้งาน คอนกรีตทนไฟ จะใช้น้ำในการผสมน้อยกว่า มีคุณสมบัติ ทนไฟ หรือทนความร้อนที่ อุณหภูมิสูงได้ดีเช่นเดียวกับอิฐทนไฟ ส่วนผสมต่างๆใน คอนกรีตทนไฟ จะประกอบไปด้วย ซีเมนต์ทนไฟ และเม็ดวัสดุทนไฟหลายขนาดที่มี สัดส่วนในคอนกรีตในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อทำการผสมน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดเข้าไปแล้ว จะทำให้การทำงาน ก่อเตา มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว และ มีความแข็งแรง สามารถใช้หล่อการขึ้นโครงสร้างในงาน  ยังส่งผลดีช่วยให้ไม่เกิดปัญหา เรื่องระยะเวลา ในการผลิต อีกด้วย 

 

สารบัญ

– วิธีการผสม คอนกรีตทนไฟ

– ข้อควรระวังใน การผสม คอนกรีตทนไฟ

– อุปกรณ์ที่ใช้ในการหล่อคอนกรีตทนไฟ

– การหล่อ คอนกรีตทนไฟ

– วิธีเลือกใช้งาน คอนกรีตทนไฟ

– วิธีใช้งาน คอนกรีตทนไฟ

– คอนกรีตทนไฟ ที่จัดจำหน่าย

 

วิธีการผสม คอนกรีตทนไฟ

การผสมคอนกรีตทนไฟชนิดธรรมดา (Conventional Castable)

1. ทําความสะอาดบริเวณที่จะหล่อคอนกรีตทนไฟรวมทั้ง เครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น เครื่องผสม (Pan Mixer) หัวเขย่า (Vibrator) ถังและเกรียงก่อนการผสมให้สะอาด ไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างอยู่ เช่น คอนกรีตทนไฟ หรือ ปูนซีเมนต์ที่ติดค้างอยู่ในถังผสม
2. ผสมคอนกรีตทนไฟในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาดของ เครื่องผสม
3. ผสมแห้งเป็นเวลาประมาณ 1 นาที
4. เติมน้ำสะอาดตามเปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักของคอนกรีต ทนไฟที่กําหนดไว้ โดยเริ่มจากอัตราส่วนที่ต่ำสุดก่อน
5. ผสมเป็นเวลา 3-5 นาที ไม่ควรผสมนานเกิน 5 นาที เพราะจะทําให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งจะเร่งการแข็งตัว ของคอนกรีตทนไฟให้เร็วขึ้น
6. ก่อนนําไปใช้งานควรทดสอบสภาพของคอนกรีตทนไฟ ที่ผสมแล้ว โดยปั้นคอนกรีตทนไฟเป็นก้อนกลม โยนขึ้น ให้สูง 6-12 นิ้ว แล้วรับ สังเกตลักษณะของคอนกรีต ได้ดังรูป
7. นําคอนกรีตที่ผสมนี้ไปใช้งานทันที และควรใช้งานให้หมด ภายใน 30 นาที หลังผสมเสร็จ

 

วิธีผสม คอนกรีตทนไฟ

การผสมคอนกรีตทนไฟชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อย (Low and Ultra Low Cement Castables)

1. ทําความสะอาดบริเวณที่จะหล่อคอนกรีตทนไฟ รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น เครื่องผสม (Pan Mixer) หัวเขย่า (Vibrator) ถังและเกรียงก่อนการผสม ให้สะอาด ไม่ให้มีสิ่งปลอมปนตกค้างอยู่
2. ผสมคอนกรีตทนไฟในปริมาณที่พอเหมาะกับเครื่องผสม ในกรณีที่เป็นชนิด แยกตัวประสาน (Separated Binder) ให้ใส่ตัวประสานตามลงไปในสัดส่วน 1 ถุงตัวประสาน ต่อ 1 ถุงคอนกรีตทนไฟ โดยพยายามโรยให้ทั่ว
3. ผสมแห้งเป็นเวลาประมาณ 1 นาที
4. เติมน้ำสะอาดตามเปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักของคอนกรีตทนไฟที่กําหนดไว้ โดยเริ่มจากอัตราส่วนที่ต่ำสุดก่อน เนื่องจากสัดส่วนของน้ำมีผลอย่างมากต่อ คุณภาพของคอนกรีตทนไฟ จึงควรควบคุมสัดส่วนน้ำตามที่กําหนดไว้อย่างเข้มงวด
5. ผสมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3-5 นาที ไม่ควรผสมนานเกิน 5 นาที เพราะจะ ทําให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งจะเร่งการแข็งตัวของคอนกรีตทนไฟให้เร็วขึ้น
6. ก่อนนําาไปใช้งานควรทดสอบสภาพของคอนกรีตทนไฟที่ผสมแล้ว โดยหยิบคอนกรีตทนไฟหนึ่งกํามือและเขย่า สังเกตดูลักษณะเนื้อคอนกรีตควรจะจับตัวเป็นก้อนผิวมัน และไม่ร่วนหรือเหลวมากหลังจากเขย่าไปมาอย่างรวดเร็ว
7. นําคอนกรีตที่ผสมนี้ไปใช้งานทันที และควรใช้งานให้หมด ภายใน 30 นาที หลังผสมเสร็จ

ข้อควรระวังใน การผสม คอนกรีตทนไฟ

  • ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ ว่าสามารถใช้งาน ได้ตามปกติ ไม่ปนเปื้อนสกปรก
  • คอนกรีตทนไฟจะแข็งตัวเร็ว ถ้าคอนกรีตทนไฟหรืออุปกรณ์ที่ใช้ปนเปื้อน ฝุ่นปูนหรือเศษคอนกรีตทนไฟเดิม
  • หากบริเวณ ที่ทำงานมีอุณหภูมิสูง เกินไป (ปกติควรอยู่ระหว่าง 25-35 °C) หรือผงคอนกรีตทนไฟ อุปกรณ์ที่ใช้ และน้ำ มีความร้อน มากเกินไปคอนกรีตทนไฟ จะแข็งตัวเร็ว ดังนั้น จึงไม่ควรวางคอนกรีตทนไฟ อุปกรณ์ที่ใช้ และน้ำ ไว้กลางแดด เป็นเวลานาน ก่อนการใช้งาน
  • น้ำที่นำมาใช้ควรเป็นน้ำที่สะอาด และไม่มีค่าเป็นกรดหรือด่าง เช่น น้ำประปา เป็นต้น
  • หากผสมน้ำ มากเกินกว่าที่กำหนด จะทำให้คอนกรีตทนไฟ มีคุณสมบัติด้อยลงมาก เช่น  คอนกรีตทนไฟจะแข็งตัวช้า มีความแข็งแรงต่ำ มีรูพรุนหลังการเผามากและมีโอกาสที่จะระเบิดเมื่ออุ่นเตาเร็ว
  • กรณีที่มีการผสมน้ำน้อยเกินไปคอนกรีตทนไฟจะแข็งตัวเร็ว และเนื้อคอนกรีตทนไฟเรียบตัวไม่แน่น
  • ความหนาของปูนทนไฟ ไม่ควรเกิน 2 มม.
  • คอนกรีตทนไฟที่ต้องให้ความร้อน 1,000 °C จึงแข็งตัว 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการหล่อคอนกรีตทนไฟ

1. เครื่องผสม แบบ Pan Mixer มีความเร็วรอบ 35-40 รอบ/นาที เพื่อให้การผสมระหว่างน้ำและคอนกรีตทนไฟเข้ากันได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วหรือถ้าไม่มีเครื่องผสม สามารถใช้สว่านไฟฟ้า กวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน

เครื่องผสม คอนกรีตทนไฟ

2. หัวเขย่า (Vibrator) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าหรือเท่ากับ 1 นิ้ว โดยมีความเร็วรอบ 10,000 – 15,000 รอบ/นาที เพื่อให้มวลสารกระจายอย่างสม่ำเสมอ และได้คอนกรีตทนไฟที่มีคุณภาพสูง

หัวเขย่า คอนกรีตทนไฟ

3. กระบอกตวงน้ำ ขนาด 1-2 ลิตร

กระบอกตวงน้ำ

4. นาฬิกาจับเวลา 

นาฬิกา จับเวลา

การหล่อ คอนกรีตทนไฟ

การหล่อ คอนกรีตทนไฟ มีข้อปฎิบัติดังนี้

1. แบบที่ใช้ในการหล่อ อาจเป็นแบบไม้หรือเหล็กก็ได้ และจะต้องไม่มีรอยรั่วซึม ก่อนหล่อควรทาด้านใน แบบหล่อด้วยน้ำมันทาแบบ เช่น จาระบี หรือพาราฟิน เพื่อให้ถอดแบบได้ง่่ายขึ้น

การหล่อ คอนกรีตทนไฟ วิธีที่1

2. การใช้หัวเขย่า (Vibrator) ควรเขย่าไล่จากล้างขึ้นบน และควรถอนหัวเขย่าจากคอนกรีตทนไฟอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรูหรือโพร่งอากาศเหลืออยู่หาก ถอนหัวเขย่าแล้วเกิดรู แสดงว่าส่วนผสมของคอนกรีตทนไฟ นั้นในปริมาณน้ำน้อยเกินไป

การหล่อ คอนกรีตทนไฟ วิธีที่2

3. ในการเขย่าคอนกรีตทนไฟ ต้องใช้เวลาที่พอดี สังเกตได้จาก น้ำที่เริ่มเยิ้มขึ้น มาบนผิวหน้าคอนกรีตทนไฟ  ทั้งนี้ไม่ควรใช้เวลาเขย่านานเกินไป

การหล่อ คอนกรีตทนไฟ วิธีที่3

4. หลังหล่อเสร็จไม่ควรตกแต่งผิวหน้าให้เรียบ เพื่อให้การระเหยน้ำออกเป็นไปอย่างสะดวก

วิธีเลือกใช้งาน คอนกรีตทนไฟ

  • เลือกจากอุณหภูมิการใช้งานเหมาะสม
  • การรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากการใช้งาน
  • การเสียดสีจากของแข็งและก๊าซภายในเตา
  • การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน
  • การกัดกร่อนทางเคมีจากน้ำโลหะ ตะกรัน (slag) และเถ้าถ่าน รวมทั้งอัคคาไลน์

 

วิธีใช้งาน คอนกรีตทนไฟ

  • ใช้เทหล่อเมื่อติดตั้งโครงสร้างต่างๆ แทนอิฐ Fireclay หรือ High Alumina เช่นผนังหลังคาของเตา เตาหลอมเหล็ก เตาอบเหล็ก เบ้ารับน้ำเหล็ก  เตาหลอมอลูมิเนียม
  • ใช้หล่อแทนอิฐ High Alumina บริเวณหลังคาเตา EAF, หัวฉีด, Nose Ring, Kiln load และ Burner Block
  • ใช้เป็น Back up lining ของอิฐไฟร์เคลย์ และอิฐอลูมินาสูง ในหม้อไอน้ำ, เตาเผาเซรามิก, เตาเหล็กรีดซ้ำ, เตาหลอมแก้ว เตาเผาขยะประสิทธิภาพสูง และเตา Periodic เป็นต้น
  • ใช้เป็น Back up lining ของ Cyclone, Preheaters และ Cooler ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และใช้เป็นพื้นของรถเตาเซรามิก เป็นต้น

คอนกรีตทนไฟ ที่จัดจำหน่าย

คอนกรีตทนไฟ NORMAL

สำหรับใช้กับงานหล่อทั่วไป ต้านทานการกัดกร่อนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี

การหดตัวต่ำทนการร้าวร่อน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิได้ดี ความแข็งแรงสูง ค่าปริมาตรคงตัว

castable 13

 

CAST 13

Castable 13

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,300 °C

castable 16

 

CAST 16

Castable 16

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,600 °C

castable 18 SP

 

CAST 18 SP

Castable 18 SP

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,800 °C

castable 14

 

CAST 14

Castable 14

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,400 °C

castable 16 SP

 

CAST 16 SP

Castable 16 SP

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,600 °C

castable 15

 

CAST 15

Castable 15

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,500 °C

castable 18

 

CAST 18

Castable 18

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,800 °C

คอนกรีตทนไฟ ES SERIES

สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้ดี

castable 13 es

 

CAST 13 ES

Castable 13 ES

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,300 °C

castable 15 es

 

CAST 15 ES

Castable 15 ES

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,500 °C

คอนกรีตทนไฟ LW SERIES

เป็นฉนวนป้องกัน การสูญเสียความร้อนและช่วยประหยัดพลังงาน

castable 10 lw

 

CAST 10 LW

Castable 10 LW

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,000 °C

castable 14 lw

 

CAST 14 LW

Castable 14 LW

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,400 °C

castable 11 lw

 

CAST 11 LW

Castable 11 LW

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,100 °C

castable 15 lw

 

CAST 15 LW

Castable 15 LW

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,500 °C

castable 13 lw

 

CAST 13 LW

Castable 13 ES

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,300 °C

castable 18 LW

 

CAST 18 LW

Castable 18 LW

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,800 °C

คอนกรีตทนไฟ CG SERIES

สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนต่อการขัดสีและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน

castable 13 cg

 

CAST 13 CG

Castable 13 CG

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,300 °C

castable 17 CG

 

CAST 17 CG

Castable 17 CG

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,700 °C

castable 14 CG

 

CAST 14 CG

Castable 14 CG

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,400 °C

castable 15 cg

 

CAST 15 CG

Castable 15 CG

ทนไฟได้สูงสุดที่ 1,500 °C

วันสต็อปเซอร์วิส

รวมถึงการสั่งซื้อได้ง่ายๆ

ที่ไลน์ LINE@ ID : @tssrefractory คลิก https://lin.ee/D1XQRAH

สั่งซื้อ SHOPEE : https://bit.ly/44prjJC

LAZADA : https://bit.ly/41UhK3A

หรือโทร 0-23943820-2 ค่ะ
Top