แร่ใยหิน เป็นกลุ่มของแร่ซิลิเกต ที่เกิดตามธรรมชาติ หกชนิดที่นิยมนำมาใช้ ทางการค้า เพราะคุณสมบัติ เฉพาะตัวที่ดี. แร่ใยหิน มีผลึกที่เป็น เส้นใยยาว (อัตราส่วนขนาด ต่อความยาวราว 1:20) การหายใจ เอาใยหิน เข้าไปเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดโรคปอดได้ ซึ่งมักพบบ่อยใ นคนงานเหมืองใยหิน แร่ใยหินเป็นที่นิยม ของผู้ผลิตสินค้าและผู้สร้างอาคาร เนื่องจากสมบัติการดูดซับเสียง ความแข็งแรง ความทนไฟ ทนความร้อน ความต้านทานไฟฟ้า ความทนทานต่อสารเคมี และราคาที่ย่อมเยา แร่ใยหินใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า ในเตาไฟฟ้า และฉนวนความร้อนในอาคาร กรณีที่ใช้ใยหิน ทำวัสุดทนไฟ หรือทนความร้อน มักผสมกับซีเมนต์ หรือทอถักทอเป็นแผ่น
สหภาพยุโรปได้ห้ามการใช้งานใยหิน รวมถึง การขุดทำเหมือง การผลิต และการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ใยหิน ในขณะที่ประเทศที่พัฒนา แล้วอื่นๆ ตระหนักถึงอันตราย ของใยหินและมีการออกกฎหมาย ควบคุมรวมถึง ห้ามใช้ ใยหินเป็นกรณีไป
แหล่งแร่ ใน ค.ศ. 2009 รัสเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด (50%) รองลงมาเป็นจีน (14%) บราซิล (12.5%) คาซัคสถาน (10.5%) และแคนาดา (9%).
แร่ใยหิน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ แอมฟิโบล (Amphiboles) และเซอร์เพนไทน์ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้
1. กลุ่มแอมฟิโบล (Amphiboles) แบ่งย่อยออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่ ครอซิโดไลท์ (Crocidolite) อะโมไซท์ (Amosite) ทรีโมไลท์ (Tremolite) แอนโธฟิลไลท์ (Anthophyllite) และแอคทิโนไลท์ (Actinolite)
2. กลุ่มเซอร์เพนไทน์ (Serpentine) ได้แก่ ไครโซไทล์ (Chrysotile)
ความแตกต่างของกลุ่มแอมฟิโบล (Amphiboles) และกลุ่มเซอร์เพนไทน์ (Serpentine)
1.1. ใยหิน กลุ่มแอมฟิโบล เส้นใยจะเป็นเส้นใยเดี่ยวรูปทรงกระบอก
1.2. ใยหิน กลุ่มเซอร์เพนไทน์ เส้นใยจะมีลักษณะ เป็นเกลียวพัน กันคล้ายเชือก ประกอบด้วย เส้นใยย่อย จำนวนมากไครโซไทล์ (Chrysotile)ในกลุ่มเซอร์เพนไทน์ (Serpentine)และแอมฟิโบล (Amphiboles)มีส่วนประกอบ ทางเคมี ที่แตกต่างกัน ส่งผล ให้คุณสมบัติ การสะสม และการสลายตัว ในสิ่งมีชีวิต และผลกระทบ ต่อสุขภาพ แตกต่างกัน
แร่ไครโซไทล์ (Chrysotile) นั้นมีอัตรา การสะสม ในสิ่งมีชีวิตต่ำ และโอกาส ในการก่อให้เกิดโรคน้อยกว่า แร่ใยหินแอมฟิโบล
ฝุ่นใยหิน ชนิดอะโมไซท์ และโครซิโดไลท์ เมื่อเข้าไปในปอด เมื่อเปรียบเทียบ กับเส้นใย ไครโซไทล์ โอกาสเกิดโรคมะเร็ง เยื่อหุ้มปอด จะมีมากกว่า 100 และ 500 เท่าตามลำดับ และโอกาสเกิด มะเร็งปอด มากกว่า 10 และ 50 เท่า ตามลำดับ การที่อันตรายมาก-น้อยต่างกัน สาเหตุเนื่องมาจาก โครงสร้างและความ สามารถในการละลายตัว (bio-durability) ของเส้นใยหินแต่ละชนิด
เส้นใยไครโซไทล์ มีพิสัย ความสามารถ ถูกละลาย หรือสลายตัว (Solubility) สูงมาก และคุณสมบัติ ความทนทาน ของเส้นใย (bio-persistent fiber) พิสัยจะอยู่ที่ค่าต่ำสุดจนถึงค่าความทนทานของเส้นใยแก้ว และหินเส้นใยไครโซไทล์ จะมีค่าความทนทาน bio-persistence ต่ำกว่า เส้นใยเซรามิกส์ หรือเส้นใยแก้ว ชนิดพิเศษ (ข้อมูลจาก Hesterberg และคณะ – 1998) และต่ำกว่าของใยหินกลุ่มแอมฟิโบลค่อนข้างมาก เพื่อตรวจสอบทฤษฎีดังกล่าว EC ได้จัดตั้งคณะทำงานทำการศึกษาการได้รับฝุ่นใยหินในระบบหายใจเป็นระยะเวลา 5 วัน หลังจากนั้นการตรวจสอบ สภาพของปอด เป็นระยะๆ เป็นเวลา 1 ปี (รายงานของ Bernstein & Riego – Sintes 1999) พบว่าสำหรับเส้นใยที่ความยาวมากกว่า 20 ไมครอน
เข้าไปที่ เมนูสินค้า และเลือกรายการ สินค้าที่ต้องการ ใส่ตะกร้า เพื่อส่ง มาสอบถาม ราคา
สนใจ สอบถามข้อมูล เพิ่มเติม เกี่ยวกับ สินค้าได้ที่ ฝ่ายขาย โทร 0-2394-3820-2 ข้อมูลในหน้า “ติดต่อเรา / Contact Us” หรือ
Website : http://www.tssrefractory.com
Facebook : https://www.facebook.com/tssrefractory/
Line : https://line.me/R/ti/p/%40tssrefractory